กระดูกหักสามารถป้องกันได้โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ลดการสูญเสียมวลกระดูก รวมทั้งการลดความเสี่ยงของการหกล้ม โดยวิธีการได้แก่:
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูก การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการลดลงของความหนาแน่นของกระดูก รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก ผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่มักจะมีมวลกระดูกลดลงมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้วหรือไม่เคยสูบบุหรี่ ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่จึงมีความสำคัญต่อการเสริมสุขภาพกระดูก
เป็นที่ทราบกันดีว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปส่งผลเสียต่อสุขภาพกระดูก โดยทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอในผู้หญิง และลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย ส่งผลให้กระดูกไม่สมบูรณ์แข็งแรง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีมวลกระดูกต่ำและเกิดกระดูกหักได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงแนะนำให้จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อรักษากระดูกให้แข็งแรง
การได้รับแคลเซียมให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเพื่อให้มีกระดูกที่แข็งแรง โดยทั่วไปวิธีในการได้รับแคลเซียมมี 2 วิธี ได้แก่ ผ่านการกินอาหารและอาหารเสริม การเสริมแคลเซียมส่งผลเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้เล็กน้อย และมีข้อควรระวังคือ การได้แคลเซียมเสริมในปริมาณที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดความกังวลในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (กล้ามเนื้อหัวใจตาย)
สิ่งสำคัญคือต้องรักษาระดับแคลเซียมในร่างกายให้เพียงพอเพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีที่สุด โดยปริมาณแคลเซียมที่แนะนำเท่ากับ 1,000-1,300 มก. ต่อวัน ซึ่งสามารถได้รับจากอาหารและอาหารเสริม สำหรับแหล่งอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม โยเกิร์ต ชีส และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง นอกจากนี้ ผักใบเขียวและถั่วบางชนิดยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีอีกด้วย
วิตามินดีมีความสำคัญต่อการสร้างกระดูกที่แข็งแรงและมีบทบาทสำคัญในการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าท่านมีแคลเซียมและวิตามินดีในระดับที่เพียงพอ การศึกษาพบว่าการกินวิตามินดีร่วมกับการได้แคลเซียมเสริมสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกสะโพกหักได้ โดยเฉพาะในบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ แนะนำให้ได้รับวิตามินดีปริมาณ 600-800 ยูนิตต่อวัน แม้ว่าแสงแดดจะเป็นวิธีทางธรรมชาติในการได้รับวิตามินดี แต่ก็อาจไม่ใช่แหล่งที่เพียงพอสำหรับทุกคน ดังนั้น การใช้วิตามินดีเสริมหรือการกินอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง สามารถช่วยให้ได้รับวิตามินดีที่เพียงพอ
โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของทุกเซลล์ในร่างกายรวมถึงกระดูก การกินโปรตีนที่เพียงพอส่งผลให้มีความหนาแน่นของกระดูกที่ดี โดยแนะนำให้กินโปรตีน 0.9 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในแต่ละวัน เช่น หากน้ำหนัก 65 กก. ท่านควรตั้งเป้าที่จะกินโปรตีนให้ได้ประมาณ 58 กรัมต่อวัน ซึ่งรวมถึงโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์
แม้ว่าจะกระดูกจะดูอยู่นิ่ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นอวัยวะที่การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งทำลายเนื้อเยื่อของกระดูกเก่าออกและแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อใหม่อย่างต่อเนื่อง การออกกำลังกายสามารถช่วยกระตุ้นเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อใหม่ โดยแนะนำให้ท่านออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง เต้นรำ หรือเล่นเทนนิส รวมถึงการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การใช้ยางยืด การว่ายน้ำ หรือการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 3-4 วันต่อสัปดาห์
การป้องกันการหกล้มช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้อย่างมาก สาเหตุของการการเกิดกระดูกสะโพกหักกว่า 90% เกิดจากการหกล้ม การออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนักจะช่วยเพิ่มความสมดุลของร่างกายและลดความเสี่ยงของการหกล้มได้ เมื่ออาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งมีข้อปฏิบัติและข้อควรระวังเพื่อป้องกันการหกล้ม โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้: