BONEcheck ได้รับการพัฒนาโดยใช้อัลกอริทึมที่อ้างอิงจากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ (ดูข้อมูลอ้างอิง) บทความเหล่านั้นมาจาก the Dubbo Osteoporosis Epidemiology Study, Study of Osteoporotic Fractures (SOF), The Osteoporotic Fractures in Men (MrOS) Study, and Vietnam Osteoporosis Study การศึกษาเหล่านี้ติดตามประชากรชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจำนวนมากกว่า 20,000 คน ซึ่งนอกจากการวัดความหนาแน่นของกระดูกแล้ว ยังมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและชีวิตประจำวัน
อัลกอริทึมสำหรับทำนายความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักใน BONEcheck ได้รับการตรวจอย่างละเอียดและรับรองความถูกต้องในการศึกษาจากหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โปแลนด์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาเหล่านี้เป็นไปในทางเดียวกันคือ อัลกอริทึมสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม
การประมาณอายุกระดูก พัฒนาจากข้อมูลเวชระเบียนของประเทศเดนมาร์ก และได้รับการตรวจความถูกต้องแล้วจากการศึกษา Study of Osteoporotic Fractures and the Osteoporotic Fractures in Men Study การประมาณระยะเวลาที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน พัฒนาจากข้อมูลของการศึกษา Study of Osteoporotic Fractures และกำลังได้รับการตรวจความถูกต้องในหลายๆการศึกษา
การตรวจความถูกต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและจะมีการตรวจเพิ่มเติมในอนาคต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดศึกษาเอกสารทางวิชาการที่แนบมาด้วย
จากการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 50 ข้อ เราได้ระบุปัจจัยเสี่ยง 5 ข้อที่ส่งผลต่อการเกิดกระดูกหักอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อายุ ความหนาแน่นของกระดูก น้ำหนักตัว จำนวนครั้งของการเกิดกระดูกหักที่เกิดขึ้นหลังอายุ 50 ปี และจำนวนการหกล้มภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา เราใช้ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับการคาดการณ์ โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
BONEcheck เลือกปัจจัยเสี่ยงที่พบจากการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยเลือกปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดกระดูกหักอย่างอิสระ ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การใช้สเตียรอยด์ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย และการบริโภคแคลเซียมในอาหาร อาจส่งผลการเกิดกระดูกหักเช่นกัน แต่ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อาจวัดได้ยาก หรืออาจส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากการที่ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่ในการคำนวณแล้ว เน้นย้ำว่าปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ไม่ได้อยู่ใน BONEcheck ไม่ได้หมายความว่าไม่มีนัยสำคัญ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย ตลอดจนการงดสูบบุหรี่และการงดดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป เป็นองค์ประกอบสำคัญในการป้องกันการเกิดกระดูกหัก
ความหนาแน่นของมวลกระดูกของแต่ละคนสามารถวัดได้ในหน่วยกรัมต่อตารางเซนติเมตร (g/cm2 ) หรือแสดงเป็น T-score ซึ่งเปรียบเทียบความหนาแน่นของมวลกระดูกของแต่ละคน กับความหนาแน่นของมวลกระดูกโดยเฉลี่ยของผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงซึ่งเป็นเพศเดียวกันที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 30 ปี (ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าเป็น "มวลกระดูกสูงสุด") ตัวอย่างเช่น ค่า T-score ที่ -2 บ่งชี้ว่าความหนาแน่นของกระดูกของบุคคลนั้นต่ำกว่าระดับมวลกระดูกสูงสุด 2เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คนที่มีค่า T-score น้อยกว่า -2.5 หมายถึงผู้ป่วยมีภาวะกระดูกพรุน
BONEcheck สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากทั้งชายและหญิง โดย 95% ของผู้เข้าร่วมไม่ได้รับการรักษาป้องกันกระดูกหัก อย่างไรก็ตาม สำหรับบุคคลที่มี T-score ต่ำกว่า -2.5 หรือผู้ที่มีกระดูกหักมาก่อน การรักษาด้วยยาต้านกระดูกหักสามารถลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักได้ตั้งแต่ 35% ถึง 50% ดังนั้น หากเป็นคนที่ใช้ยาป้องกันการเกิดกระดูกหัก ความเสี่ยงที่คำนวณจากแบบจำลองจะต้องปรับลดลง 35-50%
เราพิจารณาว่าความเสี่ยงภายใน 5 ปีนั้นจัดการได้ง่ายกว่าความเสี่ยงภายใน 10 ปีหรือความเสี่ยงตลอดชีวิต
มีการสร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักหลายแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นที่กระดูกสะโพกหักหรือเฉพาะผู้หญิง โมเดลของเราสามารถใช้ได้ทั้งชายและหญิง นอกเหนือจาก BONEcheck แล้วยังมีเครื่องมือ FRAX ที่สามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์อีกด้วย
มีความเป็นไปได้ที่ความเสี่ยงที่คำนวณได้จากแบบจำลองหนึ่งอาจแตกต่างจากแบบจำลองอื่น เนื่องจากแบบจำลองเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยใช้แหล่งข้อมูลและวิธีการที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ความแตกต่างระหว่างแบบจำลองต่างๆ จะมีนัยสำคัญเพียงพอที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจทางคลินิก
แน่นอน ในผู้สูงอายุ ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงตามอายุแต่ละบุคคล และการสูญเสียมวลกระดูกที่มากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระดูกหัก ด้วยเหตุนี้ ความเสี่ยงโดยประมาณของการเกิดกระดูกหักจึงไม่คงที่ แต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ แม้ว่าสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การเพิ่มขึ้นนี้จะอยู่ในระดับไม่รุนแรง
การกำหนดเกณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลร่วมกับการปรึกษากับแพทย์ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว เราถือว่าความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักใน 5 ปีที่ >10% เป็นความเสี่ยงสูง 5-10% เป็นความเสี่ยงปานกลาง และ 5% เป็นความเสี่ยงต่ำ จากการที่ยาป้องกันการเกิดกระดูกหัก เช่น ยาบิสฟอสโฟเนต สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักลง 35-50% ค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกันการเกิดกระดูกหัก จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่ความเสี่ยงใน 5 ปีที่ 10% หรือความเสี่ยงภายใน 10 ปีที่ 20% หรือมากกว่า เกณฑ์นี้เท่ากับเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (National Cholesterol Education Program) และเป็นเกณฑ์ที่ได้รับแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกพรุน เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่ได้รับการรักษา จึงหวังว่าแบบจำลองนี้จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงการรักษาและลดผลกระทบของโรคกระดูกพรุน
การเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักส่งผลให้ความเสี่ยงของการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การเสื่อมของกระดูกเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเกิดกระดูกหัก อายุของกระดูกเป็นตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินการเสื่อมของกระดูกที่เกิดจากกระดูกหักหรือจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก เช่น หากบุคคลอายุ 60 ปีมีอายุของกระดูก 62 ปี แสดงว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักในระดับใกล้เคียงกับคนอายุ 62 ปีที่มี 'ปัจจัยเสี่ยง’ หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ บุคคลนั้นมีอายุคาดหวัดเฉลี่ยลดลง 2 ปี จากที่มีกระดูกหักหรือยังมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบยีนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของกระดูกลักษณะพันธุกรรมของโรคกระดูกพรุน (Osteogenomic profile) เป็นการประเมินความเสี่ยงที่ได้จากการรวบรวมจำนวนยีนที่มีการแปรผันทางพันธุกรรมแล้วส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก ในโปรแกรม BONEcheck มีการรวมลักษณะพันธุกรรมของโรคกระดูกพรุนทั้งหมด 63 ความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของกระดูก
อ้างอิง
การพัฒนาโปรแกรม BONEcheck ได้อธิบายไว้ในเอกสารดังนี้:
Nguyen D, et al. BONEcheck: a digital tool for personalized bone health assessment.
MedRxiv: https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2023.05.10.23289825v1เอกสารที่เป็นพื้นฐานสำหรับ BONEcheck และอธิบายที่มาของเครื่องมือคำนวณความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักของสถาบันวิจัย Garvan:
เอกสารที่เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก:
เอกสารที่อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดอายุของกระดูก:
เอกสารที่อธิบายเกี่ยวกับลักษณะพันธุกรรมของโรคกระดูกพรุน:
เอกสารที่รายงานการทดสอบความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือ:
เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: